แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร

ควรล้างทุกกี่ปี และการล้างวิธีไหนดีที่สุด

แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร

3 สัญญาณเตือน ระบบแอร์กำลังมีปัญหา

ระบบแอร์รถยนต์ประกอบไปด้วยหลายส่วน แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร เมื่อระบบแอร์รถยนต์เกิดปัญหา ผู้ใช้รถยนต์ควรนำรถยนต์ไปให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบทันที โดยสามารถสังเกตอาการได้จาก 3 สัญญาณเตือนว่าระบบแอร์กำลังมีปัญหาดังนี้ 

แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร
แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร
แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร

การล้างแอร์รถยนต์ไม่ถอดตู้

แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร
  • การล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เพราะค่อนข้างสะดวก ไม่ต้องรื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ แค่ใช้เครื่องสอดท่อเพื่อฉีดน้ำยาทำความสะอาดเข้าไป เหมาะกับกรณีตู้แอร์ไม่สกปรกมากหรือได้รับการดูแลเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะประสิทธิภาพจะสู้การถอดตู้ออกมาล้างไม่ได้ แต่ค่าใช้จ่ายต่ำ รวดเร็ว และไม่ต้องเสี่ยงต่อความเสียหายจากการรื้อชิ้นส่วนแบบถอดตู้
แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร
✅✅ ขั้นตอนการล้างแอร์รถยนต์
ด้วยเครื่องล้างแอร์รถยนต์ Fc-Tech 🚗
⚠️ สะอาด ⚠️ ปลอดภัย ⚠️ มั่นใจคุณภาพ
💦 น้ำยาล้างตู้แอร์รถยนต์ Fc-Tech
⚠️ มาตรฐาน Iso 9001 ไม่กัดกร่อนตู้แอร์ 💯
⚠️ ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้าง มาตรฐาน Iso 14001 💯
‼️ มีระบบอบโอโซน ฆ่าเชื้อโรคด้วยน้าาา 😍

ล้างแอร์รถยนต์ถอดตู้

แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร

เป็นการรื้อตู้แอร์และนำคอยล์เย็นออกมาล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาด ข้อดีคือสามารถทำความสะอาดได้ทุกซอกทุกมุม ทั้งยังสามารถตรวจเช็คสภาพของตู้แอร์ รวมถึงประเมินอายุการใช้งานของแอร์รถได้ แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้เวลานานมาก เพราะต้องรื้อตู้แอร์ออกทั้งหมด

แอร์รถยนต์ กำแพงเพชร

ควรล้างแอร์ เมื่อไหร่


ตามปกติแล้ว ผู้ใช้รถควรทำความสะอาดแอร์รถยนต์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทุก ๆ 20,000 กิโลเมตรขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานรถยนต์ของแต่ละคนด้วย หากระหว่างใช้งานรถแล้วมีสัญญาณเตือนเหล่านี้เกิดขึ้น บ่งบอกว่าคุณควรล้างแอร์รถยนต์ สัญญาณเตือนที่ว่ามีดังนี้

  • กลิ่นอับภายในรถ
  • ลมแอร์ออกน้อยลงไม่แรงเต็มที่
  • มีน้ำหยดออกมาจากแอร์
  • เปิดแอร์แล้วมีเสียงดังมาก ฯลฯ

ทำความสะอาดแอร์รถยนต์ มีข้อดีอย่างไร


รู้ไหมว่า การทำความสะอาดแอร์รถยนต์ไม่ได้มีข้อดีตรงทำให้แอร์เย็นชุ่มฉ่ำกว่าเดิม แต่นี่ยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของตู้แอร์ และคอมเพรเซอร์แอร์ รวมถึงลดการสะสมของสิ่งสกปรก ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมากทีเดียว

กรองแอร์ สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้ไหม

กรองอากาศแอร์รถยนต์ คือ แผ่นกรองอากาศ ที่กรองฝุ่นและสิ่งสกปรก ก่อนที่ลมเย็นจากช่องแอร์จะมาสัมผัสกับผู้โดยสาร นอกจากช่วยดักจับฝุ่นละอองในอากาศแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ ให้สามารถทำความเย็นได้ดียิ่งขึ้น เพราะช่วยดักจับสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ให้ติดที่คอยล์เย็น และช่วยยืดอายุของตู้แอร์ ไม่ให้ระบบแอร์ทำงานหนักจนเกินไป การที่ระบบแอร์ในรถยนต์มีกรองแอร์ช่วยกรองฝุ่นละอองต่างๆ ยังช่วยป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารในรถเกิดโรคภูมิแพ้และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ อีกด้วย กรองอากาศแอร์ที่มีคุณภาพอย่างกรองอากาศแอร์ยี่ห้อ Artech ได้ผ่านการทดสอบจากสถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทยแล้วว่าสามารถกรองฝุ่นละออง PM 2.5 และเชื้อโรคต่างๆ ในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรองอากาศแอร์ควรได้รับการทำความสะอาดทุกๆ 5,000 กิโลเมตร และเปลี่ยนทุกๆ 20,000 กิโลเมตร เพื่อการกรองฝุ่นละอองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอนอกจากนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือกับฝุ่นละอองที่เป็นพิษ ผู้ใช้รถสามารถกดปุ่ม Recirculation ในรถ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาในรถ รวมถึงคอยดูแลความสะอาดของแผงคอยล์แอร์ ไม่ให้มีคราบอุดตัน นอกจากจะลดความเสี่ยงจากแผงคอยล์แอร์รั่วและยืดอายุการใช้งานของแอร์แล้ว คอยล์แอร์ที่สะอาดยังช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้จากฝุ่นละอองสะสมได้อีกด้วย

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น

  1. น้ำยาแอร์ไม่เต็มระบบ (น้ำยาแอร์ขาด)

แอร์ไม่มีความเย็นหรือเย็นน้อย สาเหตุแรกอาจเกิดจากปริมาณน้ำยาแอร์ที่ส่งจากคอมเพรสเซอร์เพิ่มแรงดันเข้าสู่แผงคอยล์เย็นมีปริมาณน้อย ทำให้ปริมาณน้ำยาแอร์ที่เข้าไปดูดจับความร้อนภายในห้องโดยสารได้ในปริมาณน้อย ส่งผลให้ภายในห้องโดยสารยังคงมีอากาศร้อนอยู่ในการที่น้ำยาแอร์เหลือน้อยนั้น เกิดได้หลายกรณี เกิดจากการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ได้เติมน้ำยาแอร์ทำให้น้ำยาแอร์เหลือน้อย หรือเกิดจากการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ในระบบ ซึ่งจะแอร์จะไม่เย็นเลยหากน้ำยาแอร์รั่วออกจากระบบแอร์หมดแล้ว ควรรีบแก้ไขทันที อย่าฝืนเปิดแอร์เพราะอาจทำให้มีผลเสียมากขึ้น รีบไปร้านซ่อมแอร์รถยนต์ และให้ทางร้านเติมน้ำยาแอร์พร้อมทั้งเช็คว่ามีน้ำมันคอมเพรสเซอร์อยู่หรือเปล่า ถ้าไม่มีก็ให้ช่างเติมให้ด้วย และให้ช่างเช็คการรั่วซึมให้ด้วย ค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำยาแอร์นั้นอยู่ที่ 400-700 บาท

2. ตู้แอร์รั่ว หรือรอยรั่วตามจุดต่างๆ

หรืออาจแค่สายท่อแอร์มีรอยแตก รอยรั่วตามจุดเชื่อมต่อต่างๆ ทำให้ค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็นได้เช่นกัน สามารถทำการตรวจสอบได้โดยใช้น้ำสบู่หรือผสมแชมพูตีให้เป็นฟอง แล้วนำไปทาตามรอยต่อต่างๆ ของระบบแอร์ ถ้ามีแรงดันให้ฟองสบู่ลอยตัวขึ้นมา แสดงว่ามีรอยรั่วซึมตามรอยต่อนั้น เมื่อตรวจพบให้ทำการขันให้แน่นแล้วทำการตรวจเช็คอีกรอบ สำหรับการรั่วซึมที่ท่อแอร์นั้นต้องทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น ซึ่งต้องไปที่ร้านซ่อมแอร์โดยเฉพาะ ในกรณีตู้คอยล์เย็นหรือแผงคอยล์รั่วซึม ควรจะเปลี่ยนใหม่ซึ่งราคาไม่สามารถระบุได้ขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์แต่ละรุ่น ถ้าเกิดมีการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ในห้องโดยสาร ต้องทำการซ่อมบำรุงในทันที เพราะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่อีกด้วย

3. แผงคอยล์ร้อนหรือ Condenser ระบายความร้อนไม่เพียงพอ

แอร์ไม่เย็น เย็นเฉพาะตอนรถวิ่ง หรือตอนกลางคืน เกิดจากพัดลมระบายความร้อนหน้าแผงคอยล์ร้อนไม่ทำงานหรือมีการทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ระบบระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ ไม่มีการระบายความร้อนออกจากน้ำยาแอร์ ส่งผลให้น้ำยาที่ส่งเข้าคอยล์เย็นมีอุณหภูมิสูง ทำให้แอร์ไม่เย็นได้ ในกรณีนี้แอร์จะเย็นเมื่อรถยนต์มีการขับเคลื่อนเท่านั้น เพราะมีลมพัดเข้ามาด้านหน้าแผงคอยล์ร้อนช่วยระบายความร้อนของแผงคอยล์ร้อนได้ แต่เมื่อรถติดนานทำให้ไม่มีลมผ่านด้านหน้าแผงคอยล์ ทำให้แผงคอยล์ร้อนไม่สามารถระบายความร้อนได้เพียงพอ ทำให้แอร์ภายในรถยนต์ไม่เย็นได้ เช็คได้เองโดยเปิดฝากระโปรงด้านหน้า ติดเครื่องยนต์พร้อมเปิดแอร์ เมื่อมีการทำงานของคอมเพรสเซอร์ พัดลมหน้าแผงคอยล์ร้อนจะทำงานพร้อมกัน ถ้าพัดลมหน้าแผงคอยล์ร้อนไม่ทำงาน หรือหมุนช้ามีเสียงดังแสดงว่าพัดลมด้านหน้าแผงคอยล์ร้อนเสีย เสื่อมสภาพแล้วต้องจัดการเปลี่ยนใหม่ แผงคอยล์ร้อนมีรูปร่างคล้ายหม้อน้ำ ติดตั้งอยู่ติดกับหม้อน้ำ และจะมีพัดลมระบายความร้อนติดอยู่ ซึ่งจะมีพัดลม 1 หรือ 2 ตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของรถยนต์ โดยปกติหลังจากการแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระบบแอร์จะต้องทำความสะอาดคอนเดนเซอร์ เพื่อให้การระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบแอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ลูกสูบภายในคอมเพรสเซอร์หลวมไม่มีกำลังอัด

ทำให้แอร์ไม่เย็น เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง ถ้าลูกสูบคอมเพรสเซอร์หลวม ทำให้ระดับแรงดันของน้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอร์มีน้อย ทำให้แรงดังของน้ำยาแอร์ฉีดเข้าคอยล์เย็นมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่จะดูดซับความร้อนภายในห้องโดยสารได้ ทำให้ระบบแอร์ไม่เย็นได้ เมื่อติดเครื่องยนต์เปิดแอร์ แอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่มากนัก แม้พัดลมระบายความร้อน แผงคอยล์ร้อนทำงานปกติ ระบบท่อน้ำยาแอร์ไม่รั่ว แต่เมื่อเร่งเครื่องยนต์แล้วแอร์เย็น นั่นแสดงว่าลูกสูบคอมเพรสเซอร์หลวม ให้เปลี่ยนลูกสูบใหม่หรือมือสอง ไม่นิยมซ่อมเพราะราคาซ่อมพอๆ กับการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ลูกใหม่

5. ชุดวาล์วและดรายเออร์อุดตัน หรือเสื่อมสภาพ

จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ไหลผ่านเข้าคอยล์เย็นไม่สะดวก น้ำยาแอร์ที่ฉีดไม่เพียงพอที่จะดูดซับความเย็นภายในห้องโดยสารได้ ทำให้เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง ตรวจเช็คได้โดยการติดเครื่องยนต์เปิดแอร์ ห้องโดยสารมีระดับความเย็นไม่มากและมีเสียงดังอยู่ใกล้ตู้แอร์ หรือแอร์ไม่เย็นเลย แต่เมื่อเร่งเครื่องยนต์แล้วแอร์มีความเย็นนั่นแสดงว่า ชุดวาล์วและดรายเออร์เกิดการอุดตันแล้ว ชุดวาล์วและดรายเออร์ควรที่จะเปลี่ยนพร้อมกัน เพราะดรายเออร์จะทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกจากน้ำยาแอร์ เมื่อวาล์วแอร์อุดตันนั่นแสดงว่าดรายเออร์ชำรุดแล้ว

6. คลัตช์คอมเพรสเซอร์จับไม่สนิท

ปัญหาคลัตช์ลื่นเกิดจากกระแสไฟที่ส่งเข้ามายังคลัตช์แม่เหล็กมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่จะทำให้คลัตช์คอมเพรสเซอร์ติดเข้ากับมูลเลย์ได้ หรือติดไม่แน่นเกิดการฟรีในบางจังหวะ เมื่อคลัตช์คอมเพรสเซอร์มีการจับมูเลย์บ้างไม่จับบ้าง ก็เป็นสาเหตุให้คอมเพรสเซอร์ทำงานบ้าง ไม่ทำงานบ้าง จึงทำให้แอร์เย็นเป็นช่วงๆ หรือไม่เย็นเลย ในการแก้ไขปัญหาสามารถดูได้ 3 จุด ได้แก่ ระบบสายไฟที่ส่งมายังคลัตช์คอมเพรสเซอร์บกพร่อง, ชุดสวิตช์ระดับเซ็นเซอร์ควบคุมความเย็นมีการเสื่อมสภาพ, ทำการปรับแต่งหน้าคลัตช์ให้เรียบเสมอ และตั้งระยะคลัตช์ใหม่ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง

7. สายพานคอมเพรสเซอร์หย่อนมากเกินไป

ทำให้ในเวลาที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน สายพานที่รับกำลังจากเครื่องยนต์ เพื่อฉุดให้คอมเพรสเซอร์หมุนนั้นเกิดการฟรี ไม่สามารถที่จะฉุดให้คอมเพรสเซอร์หมุนได้ สามารถสังเกตได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานจะเกิดเสียงดังและแอร์ภายในรถยนต์จะไม่ค่อยเย็น การแก้ไขปัญหาคือการปรับระดับสายพานให้ตึงขึ้น ถ้าสายพานมีรอยแตกหรือฉีกขาดควรเปลี่ยนเส้นใหม่ทันที

8. การใช้น้ำยาแอร์ที่ผิดประเภท

ใช้น้ำยาแอร์ที่ผิดประเภท หรือใช้น้ำยาแอร์ปลอมปนนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลงได้ โดยทั่วไปแล้วหากมีการปลอมปนของน้ำยาแอร์ ในระดับ 2-3% โดยน้ำหนักแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์มากนัก

แต่หากมีการปลอมปนของน้ำยาแอร์ที่มากกว่า 5% โดยน้ำหนักแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์แตกต่างกันไป ขึ้นกับลักษณะของการปลอมปน โดยทำให้ความดันในระบบแอร์รถยนต์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุปกรณ์ในระบบแอร์รถยนต์ไม่สามารถทนแรงดันซึ่งสูงกว่าที่บริษัทผู้ผลิตออกแบบไว้ เกิดความเสียหายหรือระเบิดขึ้น เมื่อความดันในระบบแอร์รถยนต์เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้คลัตช์ของคอมเพรสเซอร์มีความร้อนสูงและเสียหายได้ ทำให้การทำงานของคอยล์เย็น และเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วผิดปกติ ส่งผลให้แอร์ในรถไม่เย็นความเสียหายต่างๆ ที่กล่าวมานี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่อุปกรณ์ต่างๆ จะค่อยๆ เสียหายและหมดอายุการใช้งานก่อนกำหนด เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง

9. ลืมกดปุ่ม A/C ที่แผงควบคุมแอร์

อาการนี้มาจากตัวผู้ขับขี่เองล้วนๆ บางครั้งเราเองหรือคนนั่งหน้าอาจเผลอไปกดปุ่ม A/C ปุ่มนี้เอาไว้ใช้ควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ โดยเลือกให้ทำงานหรือหยุดทำงานได้ เอาไว้เวลาที่เราต้องการใช้พัดลมเพียงอย่างเดียว หรือจะใช้ปิดช่วงก่อนถึงที่หมาย เพื่อให้ลมเป่าความชื้นออกจากแผงคอยล์เย็น ลดการเกิดเชื้อราที่แผงได้ แต่ปุ่มนี้ไม่ได้มีในรถทุกคัน ถ้าคันไหนไม่มีแต่ต้องการเปิดพัดลมอย่างเดียว ให้หมุนที่ปรับอุณหภูมิให้ไปซ้ายสุด หรือจุดที่มีเส้นสีฟ้าบางที่สุด คอมเพรสเซอร์ก็หยุดการทำงานได้เช่นกัน

เอาเป็นว่าตั้งสติก่อนสตาร์ทนะครับ อย่าเพิ่งตกอกตกใจโดยเฉพาะสุภาพสตรีทั้งหลาย เพราะมีบ่อยครั้งเลยที่คุณผู้หญิงมักโวยวายหรือตกใจคิดว่าแอร์เสียซะแล้ว