เครื่องเสียงรถยนต์ กำแพงเพชร 

TAWATCHAI AUTO AIR

  ธวัชชัยออกโต้แอร์ กำแพงเพชร เป็นศูนย์ติดตั้ง เครื่องเสียงรถยนต์  กำแพงเพชร จากการทำงานด้านเครื่องเสียงรถยนต์ ที่ให้บริการด้านเครื่องเสียงรถยนต์ด้วยความชำนาญอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลามากกว่า 30 ปี ยินดีให้ปรึกษา

ตู้ทดสอบเครื่องเสียง By ธวัชชัยออโต้แอร์ กำแพวเพขร

ทดสอบเครื่องเสียงรถยนต์

ต้องลองฟังก่อนได้

การได้ลองฟังเครื่องเสียงรถยนต์หรือ ทดสอบคุณภาพเสียง ทำให้เรารู้ตัวเราเองชอบฟังแนวไหน เบื้องต้น

ฟังในรถ

เน้นความชัด เน้นเวทีทิศทางที่ชัดเจน เน้นความสะอาดของเสียง

ฟังนอกรถ

ยิ่งฟังไกลฟังชัด เน้นเวทีเสียงนอกรถน้นดัง เบส กลาง แหลม แย่งกัน 

ตัวอย่างงานติดตั้ง

 

 ด้วยความรู้ความสามารถจากประสบการณ์ทางด้านเครื่องเสียงรถยนต์ ได้รังสรรค์ผลงาน ด้วยความพิถีพิถันและไม่เคยนิ่งที่จะพัฒนามาตรฐานการให้บริการ และการติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด เครื่องเสียงรถยนต์ กำแพงเพชร

TOYOTA ALPHARD 2018 ติดตั้งชุดเครื่องเสียง Audison

ISUZU MU7 ติดตั้ง DSP ทำเวทีเสียงให้ชัดเจน

Mercedes Benz E CLASS ติดตั้งลำโพง Hertz ลำโพงสัญชาติอิตาลี

Toyota Revo ติดตั้งชุดเครื่องเสียง Rockford Fosgate

ISUZU DMAX 2018 ติดตั้งชุดเครื่องเสียง DS18 และ ORION

Hyundai H1 ติดตั้งตู้ซับ Audison APBX 10AS

Mercedes Benz ติดตั้งลำโพง  Audison เน้นความเป็นธรรมชาติของเสียง

Toyota Fortuner ติดตั้งลำโพง  Focal เสียงที่มีความสดและกว้างมาก

ประเภทของลำโพงมีอะไรบ้าง

เมื่อจะนำรถไปติดตั้งระบบเสียงรถยนต์ เราควรมาทำความรู้จักกับดอกลำโพงประเภทต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้กันในระบบเสียงรถยนต์กันนะครับ ดูสิครับว่ามันมีชื่อเรียก และคุณลักษณะโดยทั่วไปอย่างไรกันบ้าง

1.ทวีตเตอร์โดม ( Tweeter)

ลำโพงทวีตเตอร์ที่ออกแบบมา เพื่อตอบสนองเสียงในช่วงความถี่ย่านสูง หรือมีช่วงความถี่ทำงานโดยประมาณ จาก 1,250 เฮิตซ์ (Hz) ถึง 20,000 เฮิตซ์ (Hz) อันเป็นความถี่เสียงสูงสุดที่มนุษย์สามารถได้ยิน สำหรับคำว่า “ทวีตเตอร์” นั้น ก็พ้องเสียงมาจาก “นกทวีตเตอร์” ที่มีเสียงในช่วงความถี่สูง มีขนาดสัดส่วนของหน้าลำโพงประมาณ 1 นิ้ว ถึง 3.5 นิ้ว

ลำโพงทวีตเตอร์ มีลักษณะจำแนกตามความนิยมได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่

1.1.ทวีตเตอร์โดม (Dome Tweeter) ตัวกรวยจะมีลักษณะแบบโดมหรือครึ่งวงกลม ทั้งโค้งหงายแบบกระทะ หรือโค้งคว่่ำแบบฝาครอบ ใช้วัสดุได้หลากหลาย ทั้งผ้าไหม, ฟิล์ม PP, กระดาษ, โลหะบาง, เซรามิค และอื่นๆ รวมถึงมีนวัตกรรมแปลกใหม่อีกมากมาย

1.2.ฮอร์นทวีตเตอร์ (Horn Tweeter) หรือทวีตเตอร์หัวกระสุน (Bullet Tweeter) ด้านหน้ามีลักษณะเหมือนปากแตร และอาจมีวัสดุช่วยรีดเสียงติดตั้งไว้ที่แกนกลาง เพื่อให้สามารถได้ยินในระยะไกลๆจากดอกลำโพง วัสดุที่ใช้ทำกรวยก็มีหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นโลหะเพื่อเสียงแหลมที่คมชัด

2.มิดเรนจ์ (Midrange)

มิดเรนจ์ เพื่อตอบสนองเสียงช่วงความถี่ย่านกลาง หรือช่วงความถี่ทำงานโดยประมาณ จาก 315 เฮิตซ์ (Hz) ถึง 3,150 เฮิตซ์ (Hz) กรวยลำโพงจะใช้วัสดุในการผลิตได้หลากหลาย อาทิเช่น กระดาษเคลือบน้ำยา, โลหะรีดบาง, โพลีเมอร์, พลาสติก และอื่นๆ ขนาดสัดส่วนโดยทั่วไป ของมิดเรนจ์ จะอยู่ที่ 2.5 นิ้ว ถึง 4 นิ้ว

สำหรับมิดเรนจ์ จะนิยมใช้กันในแบบกรวย (Cone Midrange) โดยอาจมีนวัตกรรมในส่วนของดัสแค็ป ที่แตกต่างกันไป อาทิ แบบเฟสปลั๊ก, แบบโดม, หรือลักษณะอื่นๆ

3.มิดวูฟเฟอร์ (Mid Woofer)

มิดวูฟเฟอร์ เพื่อตอบสนองเสียงช่วงความถี่ย่านกลางต่ำ หรือช่วงความถี่ทำงานโดยประมาณ จาก 50 เฮิตซ์ (Hz) ถึง 5000 เฮิตซ์ (Hz) กรวยลำโพงจะใช้วัสดุในการผลิตได้หลากหลาย อาทิเช่น กระดาษเคลือบน้ำยา, โลหะรีดบาง, โพลีเมอร์, พลาสติก, ผสมวัสดุหลายชนิดเข้าด้วยกัน และอื่นๆ ขนาดสัดส่วนโดยทั่วไป สำหรับมิดเรนจ์ จะอยู่ที่ 5 นิ้ว ถึง 8 นิ้ว ลำโพงมิดวูฟเฟอร์ ถือได้ว่าเป็นลำโพงที่มีการค้นคิดในเรื่องของนวัตกรรม ที่หลากหลาย ทั้งในส่วนของโครงลำโพง, ส่วนของหน้ากรวย, แม่เหล็ก และสไปเดอร์

4.ซับวูฟเฟอร์ (Sub Woofer)

ลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ออกแบบมา เพื่อตอบสนองเสียงช่วงความถี่ย่านต่ำลึก หรือช่วงความถี่ทำงานโดยประมาณ จาก 20 เฮิตซ์ (Hz) ถึง 100 เฮิตซ์ (Hz) กรวยลำโพงก็ใช้วัสดุในการผลิตได้หลากหลาย อาทิเช่น กระดาษเคลือบน้ำยา, โลหะรีดบาง, โพลีเมอร์, พลาสติก, ผสมวัสดุหลายชนิดเข้าด้วยกัน และอื่นๆ ขนาดสัดส่วนโดยทั่วไป จะอยู่ที่ 8 นิ้ว ถึง 18 นิ้ว

ปัจจุบัน ได้มีการออกแบบให้ซับวูฟเฟอร์ มีวอยซ์คอยล์ในการทำงานมากกว่าหนึ่งวอยซ์คอยล์ (บางรุ่นมีถึง 4 วอยซ์คอยล์) เพื่อความสะดวกในการต่อดอกซับวูฟเฟอร์ได้มากกว่า 1 ดอก ใช้งานร่วมกันในระบบเสียง ตอบสนองความต้องการในการสร้างพลังเสียง SPL ในปริมาณสูง

By เครื่องเสียงรถยนต์ กำแพงเพชร

เทคนิคปรับความถี่บนปุ่ม EQ กับผลคุณภาพเสียง

ในการปรับจูน EQ หรืออีควอไลเซอร์ ทั้งแบบที่แยกต่างหาก และแบบที่รวมอยู่ในอุปกรณ์จำพวก DSP เราควรทราบในเบื้องต้นก่อนว่า แต่ละความถี่มีผลอย่างไรกับคุณภาพเสียง เพื่อให้สามารถปรับจูน ปรับแก้ไข ในเรื่องของคุณภาพเสียงได้อย่างถูกต้อง โดยเราขอแยกส่วนของความถี่ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อความสะดวกในการจดจำ

เครื่องเสียงรถยนต์ กำแพงเพชร

กลุ่มที่ 1 ความถี่ช่วงต่ำอาทิ 20, 25, 31.5, 40, 50, 63 Hz เป็นความถี่หลักของเสียงกลองเบส, ทูบ้า, ดับเบิ้ลเบส และออร์แกน เป็นช่วงความถี่ที่ให้กำลังของเสียงเพลง ถ้าเสียงที่ได้ยินรู้สึกอึมครึม ให้ลดความถี่ 50Hz หรือ 60Hz ลง เพื่อขจัดอาการดังกล่าว

💥20, 25, 31.5, 40, 50, 63 Hz ข้อแนะนำ💥

  • 20 Hz เสียงเบสทุ้มลึกสุด อาจมีอาการเบลอ ถ้าปรับโดยไม่ระวัง
  • 25 Hz เบสทุ้มลึก ถ้าเพิ่มเกนมากเกินไป เบสจะคราง
  • 5 Hz เป็นเสียงเบส ต้องให้เสียงเดินเรียบ ลูกเบสมีจังหวะ หากเสียงเบสดรัมหนา หรือออกอาการเบลอ ให้ลดเกนลงพอประมาณ เพื่อสร้างแนวเสียงกระเดื่องในหลายๆสไตล์ อาทิ แบบบลู หรือ แบบร็อค
  • 40 .Hz เบสหลักที่ชัดเจน เป็นเสียงทุ้มต่ำของเบสดรัม
  • 63 Hz เบสดรัมที่มีน้ำหนัก และกระแทก มีแรงปะทะ เป็นเสียงทุ้มต้นของกลองทอม

2 ความถี่ในช่วง 80, 100, 125 Hz เป็นความถี่หลักของเสียงทิมปานี่ย่านต่ำ การปรับเพิ่มมากเกินไปจะทำให้เกิดลักษณะ “เสียงบวม” และความถี่ 100Hz หรือ 125Hz ยังใช้ขจัดเสียงฮัมในเนื้อเพลงได้ด้วย

💥80, 100, 125 Hz ข้อแนะนำ💥

  • 80 Hz เป็นตำแหน่งสำคัญของเสียงเบส และกระเดื่องกลอง น้ำหนักเสียงเบสทั้งหมดจะอยู่ที่ความถี่นี้
  • 100 Hz เป็นเสียงโซโล่เบส เสียงกระเดื่องกลองที่โดนกระแทก ถ้าต้องการกระเดื่องกลองแบบโป๊ะๆ แบบเพลงร็อค เพลงลูกทุ่ง แนะนำให้ลดเกนลงพอประมาณ
  • 125 Hz เป็นเสียงโป๊ะๆ ของเบสและกระเดื่อง และเสียงอวบหนาของกลองทอม แนะนำให้ลดเกนลงที่ละนิด จนได้เนื้อเสียงที่โปร่ง ไม่อึมครึม

3 พวกความถี่ 160, 200, 250 Hz เป็นเสียงกลองและเบสตัวต่ำ การปรับเพิ่มมากเกินไปจะให้เกิด “เสียงบวม” และมักใช้ขจัดเสียงฮัมในฮาร์โมนิคที่ 3 ของเสียง

💥 160, 200, 250 Hz ข้อแนะนำ💥

ที่ความถี่ 250 Hz เป็นความชัดเจนของกระเดื่องกลอง และเบสหลัก เสียงส่วนทุ้มของกลองสแนร์และกลองทอม เสียงนักร้องแนวทุ้มๆ ลึกๆ ลดเกนลงพอประมาณ เพื่อเนื้อเสียงที่คมชัดขึ้น

4 กลุ่มความถี่ 315, 400, 500 Hz ความถี่หลักของเสียงเครื่องสายและเพอร์คัสชั่น

💥315, 400, 500 Hz ข้อแนะนำ💥 

  • 315 Hz เป็นเสียงร้องนุ่มๆ อิ่มๆ เสียงฆ้อนกระเดื่องกระแทกหนังกลอง เสียงตบเบส เสียงอวบหนาในเนื้อเสียงร้อง
  • 400 Hz เสียงร้องเอิบอิ่ม นุ่มทุ้ม มีน้ำหนัก สร้างอารมณ์เพลง เป็นของเสียงกรระเดื่อง กับเบส เสียงกลองสแนร์ดังเต็มใบ กลองทอมลงจังหวะชัดๆ แนะนำปรับเกนเพิ่มเล็กน้อย พอให้ได้อารมณ์เพลง
  • 500 Hz กลางชัดเจน ทั้งเสียงร้องและดนตรี มีความหนาแน่น ปรับเกนเพิ่มพอประมาณ จะทำให้เสียงเปิดโปร่งขึ้น

กลุ่มความถี่ 630, 800, 1k Hz ความถี่หลักและฮาร์โมนิคของเสียงเครื่องสาย, คีย์บอร์ด และเพอร์คัสชั่น การปรับเพิ่มความถี่ในย่าน 600 – 1k Hz มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเสียงปากแตรมีปริมาณมากเกินจริง

💥630, 800, 1k Hz  ข้อแนะนำ💥

  • 630 Hz เป็นเสียงย่านกลาง ที่ช่วยเสริมให้ 500 Hz ฟังได้ชัดเจนขึ้น เสียงกลองทอมเต็มใบ ก้องกังวาล ปรับเพิ่มเกนได้เพียงเล็กน้อย
  • 800 Hz เป็นเสียงถ้อยคำ เสียงพูด ไม่ควรปรับเพิ่มเกน เพราะจะเหมือนพูดในถ่้ำ เสียงกลองทอมกังวาล ส่วนใหญ่จะปรับเกนลดลง เพื่อรักษาเสียงร้องให้โปร่งสด ไม่ก้องสะท้อน
  • 1 KHz เป็นเสียงพูดที่ต้องการใสโปร่ง มีชัดเจน เสียงตบสายกีต้าร์เบส และหัวกระเดื่องกลอง ปรับเพิ่มเกนได้เล็กน้อยตามสมควร

ย่านความถี่ 1.25k, 1.6k, 2k, 2.5k, 3.15k, 4k Hz เป็นส่วนเสียงกลอง, เสียงกีต้าร์, เสียงร้องเน้น, เสียงเครื่องสาย และเสียงดนตรีทองเหลือง การปรับเพิ่มความถี่ในช่วง 1k ถึง 2k Hz มากเกินไปจะทำให้เสียงชิ้นดนตรีในย่านดังกล่าวเล็กจิ๋วกว่าปกติ การปรับเพิ่มความถี่ในช่วง 1k ถึง 4k Hz จะมีผลทำให้เกิดอาการ “เหนื่อยล้า” ในการฟังเพลง

💥ข้อแนะนำ 1.25k, 1.6k, 2k, 2.5k, 3.15k, 4k Hz 💥

  • 25k, 1.6k, 2k Hz เป็นช่วงเสียงกลางที่คมๆ เสียงพูดอวบหนา เสียงร้องแบบหยาบแห้ง ควรปรับเกนลดลงพอให้ได้เสียงที่นุ่มละมุนขึ้น เป็นเสียงปลายกระเดื่องคมๆ เสียงติ๊กๆของเบส เสียงไฮแฮท คม บาดๆ จึงไม่ควรลดเกนมากเกินความจำเป็น เพราะอาจเสียงรสชาดของดนตรีบางแนวไป
  • 5k, 3.15k Hz เป็นส่วนของเสียงเอฟเฟค เสียงรีเวิร์บ ที่ช่วยในเรื่องความน่าฟัง ปลายเสียงร้องแบบสดใส เสียงไฮแฮท คมชัด หัวกลองทอมที่โป๊ะๆ ปรับเพิ่มเกนได้พอประมาณ เพื่อเสริมบรรยากาศเสียง
  • 4 KHz เป็นเสียงแบบคมๆ บาดๆ แนะนำลดเกนลงพอประมาณ เพื่อลดเสียงร้องที่แหลมคมบาดหู

ย่านความถี่ 5k, 6.3k, 8k Hz เสียงเน้นของเพอร์คัสชั่น, เสียงฉาบ และกลองสแนร์ การลดเสียงในช่วง 5k Hz ลงบ้างจะทำให้เสียงดูมีระยะทางและสดใส การลดเสียงฮีสและเสียงรบกวน จะใช้การลดความถี่ช่วง 1.25k ถึง 8k เพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจนและโดดเด่น

💥5k, 6.3k, 8k Hzข้อแนะนำ💥

ในความถี่ 8k Hz เป็นปลายเสียงใสๆ ของทุกเครื่่องดนตรี เสียงเอฟเฟคฟุ้งๆ ปรับเพิ่มเกนเล็กน้อย เพื่อให้ความรู้สึกเสียงที่กว้างขยายขึ้น

พวกความถี่ 10k, 12.5k, 16k, 20k Hz เสียงฉาบและความสว่างสดใสโดยรวม การปรับเพิ่มมากเกินไปจะทำให้เกิดเสียงที่แสบหู ใช้ลดเสียงฮีสและเสียงรบกวนในระบบได้

💥10k, 12.5k, 16k, 20k Hzข้อแนะนำ💥 

ระยะความถี่ 16k, 20k Hz เป็นเสียงช่วงปลายๆของเสียงแหลม ปรับเพิ่มเกนเมื่อรู้สึกเสียงเหมือนไม่มีบรรยากาศ และปรับลดเกนเมื่อรู้สึกเสียงมีลักษณะวิ้งๆให้ได้ยินจนรำคาญ

นี่เป็นส่วนหนึ่งของข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่เริ่มหัดในการปรับจูนคุณภาพเสียง ด้วยอีควอไลเซอร์ทั้งแบบแยกส่วนและที่มีใน DSP ต่างๆ ไปนะครับ สวัสดีครับ

เครื่องเสียงรถยนต์ กำแพงเพชร

แผนที่ร้านธวัชชัยออโต้แอร์

เปิดให้บริการ จันทร์-อาทิตย์  เวลา 8:00น. – 18:00น.

โทร 055711701